หน้าแรก


การทดลองขวดสีน้ำเงิน คืออะไร
          การทดลองขวดสีน้ำเงิน (The blue bottle experiment) ที่เฌอปราง ได้ร่วมทำการทดลอง การคำนวณ และรวบรวมการเขียนผลงานวิจัยดังกล่าวกับอาจารย์ ดร. ทวีธรรม ลิมปานุภาพ กับ รุ่นพี่ที่ ม.มหิดล ภัคพงศ์ รุ่งเรืองศรี  โดยงานวิจัยดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า หรือปฏิกิริยารีดอกซ์  โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ผ่านการคัดกรอง และตีพิมพ์ลงในวารสาร Royal Society Open Science ของประเทศอังกฤษ โดยในการทดลองนี้ได้นำ น้ำตาลกลูโคส และ โซดาไฟ มาใส่ขวดทดลอง แล้วเขย่าให้เข้ากัน จากนั้นใส่สารที่มีชื่อว่า เมทิลีนบลู (Methylene blue) ลงไปในขวด เราก็จะเห็นสารในขวดทดลองนั้นเป็นสีฟ้า จากนั้นเมื่อเราวางขวดทดลองนั้นไว้นิ่ง ๆ สักพักนึง จะพบว่าสารในขวดทดลองนั้นกลายเป็นสารที่ไม่มีสี ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า เกิดการทำปฏิกิริยากันระหว่างน้ำตาลกลูโคส และ โซเดียมไฮดรอกไซค์ โดยที่โซเดียมไฮดรอกไซค์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และกลูโคสที่อยู่ในสารก็สามารถที่จะดึงออกซิเจนที่อยู่ในน้ำให้ออกไปอยู่ในอากาศ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับของออกซิเจนนั้น ตัวเมทิลีนบลู ก็จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างของสี จนกลายเป็นสารที่ไร้สีในที่สุด นอกจากนี้ถ้าเราทำการเขย่าสารที่ไร้สีนั้น ออกซิเจนที่อยู่ในอากาศก็จะกลับเข้าไปอยู่ในน้ำเหมือนในตอนแรก และเราจะพบว่าสารนั้นกลับกลายเป็นสารสีน้ำเงินอีกรอบหนึ่ง

แล้ว เมทิลีนบลู คืออะไร?
          ถ้าอ่านกันมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเกิดคำถามแล้วว่า เจ้าตัว เมทิลีนบลู นี่มันคืออะไร เมทิลีนบลู เป็นสารประกอบเคมีที่เป็นของแข็งเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง ไม่มีกลิ่น มีสีเขียวเข้ม เมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายสีฟ้า
          ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านชีววิทยา ภาควิชาเคมี และใช้เป็นเภสัชภัณฑ์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนำมาเป็นยาต่อต้านเชื้อมาลาเรียเมื่อปี ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เมทิลีน บลู มาเป็นสารประกอบของยาต้านอาการปวดเกร็ง/ปวดบีบขณะขับถ่ายปัสสาวะ หรือใช้เป็นสีย้อมในการทำหัตถการทางการแพทย์ที่เรียกว่า Endoscope polypectomy อีกทั้งใช้เป็นยาต้านพิษ (Antidote) ของสารโพแทสเซียม ไซยาไนด์ (Potassium cyanide) ด้วย
          นอกจากนี้ยังใช้บำบัดอาการผิดปกติของเม็ดเลือดที่เรียกว่า Methemoglobinemia (ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงที่มีสาร Methemoglobulin ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถนำส่งออกซิเจนให้กับเซลล์ได้)
เรื่องนี้สอนอะไรเรา
          ในตอนที่ผู้เขียนเพิ่งทราบเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ก็รู้สึกประหลาดใจว่าเด็กที่น่าจะถูกเรียกว่าเป็นเด็กเรียนทำไมถึงไปสมัครเป็นสมาชิกของวง BNK48 และเดินทางเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว ซึ่งเฌอปรางเองก็เคยให้คำตอบของคำถามนี้ที่แสดงถึงความเป็นนักวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งในตัวเธอไว้ว่าเธอนั้นเป็นแฟนคลับของวงรุ่นพี่อย่าง AKB48 อยู่ก่อนแล้ว และเมื่อรู้ว่าในประเทศไทยกำลังจะเปิดรับสมัคร BNK48 จึงเกิดความอยากรู้ อยากทดลองว่า ไอดอลที่ตนชื่นชอบนั้นต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง แต่ผลกลับกลายเป็นว่าเธอได้เป็นทั้งสมาชิกของวงและยังเป็นกัปตันอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ย้ำเตือนผู้เขียนว่า บางครั้งเราไม่รู้หรอกว่าอะไรดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเรา จนกว่าเราจะได้ลองทำมันจริง ๆ เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ไม่เหมาะสม เพราะก็มีหลาย ๆ กรณีให้เราเห็น ว่าสิ่งที่ไม่ใช่ในบางครั้ง อาจกลายเป็นสิ่งที่ใช่ในที่สุด.
ข้อมมูลเพิ่มเติม
เภสัชกร อภัย ราษฏรวิจิตร. (2558, 21 มีนาคม).  เมทิลีนบลู (Methylene blue).  สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก haamor.com/th/เมทิลีนบลู/
THEXYZ. (2561, 31 มกราคม).  เจ๋งมาก ผลงานวิจัยของ เฌอปราง BNK48 ได้ตีพิมพ์ในวารสารของอังกฤษ.  สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก https://campus.campus-star.com/variety/62086.html
 อ้างอิง
https://www.scimath.org/article-chemistry/item/8643-bnk48

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น